การดำเนินงานของกอง
Thai – Bahrain (2008)
ความเป็นมา
กระทรวงสาธารณสุขราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐคิวบาได้ริเริ่มหารือเพื่อการจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านสาธารณสุข และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านสาธารณสุขระหว่างกัน (Memorandum of Understanding on Health Cooperation between the Ministry of Public Health of The Kingdom of Thailand and The Ministry of Health of The Kingdom of Bahrain) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจด้านสาธารณสุข ดังกล่าวเป็นความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ระหว่างกันใน 5 สาขา ได้แก่
1. การบริการทางการแพทย์ด้านสาธารณสุข
2. การฝึกอบรมการวิจัยและพัฒนา การประกันสุขภาพ
3. นโยบายและการดำเนินการด้านสุขภาพและโรงพยาบาล
4. การบริหารจัดการด้านอาหารและยา และ
5.การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก
วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ MOU
1. เพื่อสร้างกรอบการปฏิบัติการพื้นฐานสำหรับใช้ในความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกันบนพื้นฐานความตกลงของทั้งสองฝ่าย
2. เพื่อพัฒนาความร่วมมือในสาขาที่เกี่ยวข้อง และศึกษาผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งสองฝ่ายเพื่อใช้ในความร่วมมือ
หลังจากนั้นในระหว่างการเดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยร่วมการนายกรัฐมนตรี ในระหว่างวันที่ 24 – 26 เมษายน 2560 รัฐมนตรีสาธารณสุขไทยและบาห์เรนได้เห็นชอบร่วมกันในการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Operational Plan) จากบันทึกความเข้าใจของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งฝ่ายไทยได้นำเสนอร่างแผนปฏิบัติการ (Draft Plan of Action) ในระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 70 และได้แผนปฏิบัติการ Plan of Action โดยมีระยะเวลาของแผนกิจกรรมดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2018 – 2019 (พ.ศ. 2561 – 2562)
ประเด็นความร่วมมือของแผนปฏิบัติการภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรบาห์เรน ปี ค.ศ. 2018 – 2019 (พ.ศ. 2561 – 2562) ที่เกี่ยวข้องกับ อย.
- Cooperation of Food Safety โดยมีกิจกรรมความร่วมมือ ดังนี้
- Exchange of information on food law and relevant regulation
ตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่คาดหวัง คือ จำนวนกฎระเบียบที่ได้แลกเปลี่ยนเรียน - Pharmaceuticals Information Sharing โดยมีกิจกรรมความร่วมมือ ดังนี้
- Strengthen the information exchange of efficacy, quality and safety of pharmaceuticals
ตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ จำนวนของการแจ้งเตือน (alerts)
- Exchange of information on pharmaceutical laws and regulations
ตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ จำนวนของกฎระเบียบที่ได้รับการแลกเปลี่ยน
- Research and development on Antimicrobial Resistance field (AMR)
ตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ ระดับความสำเร็จของการศึกษาวิจัยที่เกิดขึ้น
ความร่วมมือภายใต้กระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อย.
- บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรบาห์เรนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหารการค้า และการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์เกษตร โดยเฉพาะอาหารฮาลาล (กระทรวงพาณิชย์)
ในระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพการการประชุมคณะกรรมการอำนวยการร่วม (Joint Steering Committee: JCC) ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรบาห์เรนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร การค้า และการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์การเกษตร โดยเฉพาะอาหารฮาลาล ครั้งที่ 1 โดยมีประเด็นที่เห็นควรให้ความสำคัญในการเจรจาครั้งนี้ได้แก่ การกำหนดขั้นตอนในกระบวนการสุขอนามัยของสินค้าเกษตรและอาหารที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองประเทศ และการยอมรับมาตรฐานฮาลาลของไทย เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยในการแข่งขันกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของบาห์เรน รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตลาด และพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคบาห์เรน - High Joint Commission (HJC) for Bilateral Meeting between the Kingdom of Thailand and the Kingdom of Bahrain
เพื่อติดตามความร่วมมือระหว่างไทย-บาห์เรนในภาพรวม กระทรวงการต่างประเทศจึงมีการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูง (High Joint Commission: HJC) ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บาห์เรน เพื่อติดตามตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานกลางปี (Mid-year Review) ครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 19 – 21 ธันวาคม 2561 และมีการประชุมติดตามตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานกลางปี (Mid-year Review) ครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 สิงหาคม 2564
ลำดับ | ชื่อไฟล์ | Download |
1 | Memorandum of Understanding on Health Cooperation between the Ministry of Public Health of The Kingdom of Thailand and The Ministry of Health of The Kingdom of Bahrain | |