Thai - Lao (2016)


ความเป็นมา
กระทรวงสาธารณสุขไทยกับ สปป.ลาวได้มีความร่วมมือด้านสาธารณสุขมายาวนาน ตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกการหารือ (Minutes of Discussion) เมื่อปี 2538 ซึ่งมีการระบุความร่วมมือด้านสาธารณสุขในภาพรวมระหว่างกัน และดำเนินกิจกรรมร่วมกันมาอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นในปี 2559 ได้มีการจัดการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขไทย-ลาว (Thailand – Lao PDR Bilateral Ministerial Meeting on Health Cooperation) พร้อมทั้งมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข  (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING BETWEEN THE GOVERNMENT OF THE KINGDOM OF THAILAND AND THE GOVERNMENT OF THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC ON HEALTH COOPERATION) ในระหว่างการประชุมดังกล่าว รวมถึงจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันซึ่งมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานฯ

Thai-Lao.jpg

วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้าง อำนวยความสะดวก และส่งเสริมการให้และการประสานความร่วมมือด้านสาธารณสุขบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน บันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว จะเป็นกรอบสำหรับการดำเนินงานสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน


สาขาความร่วมมือ
สาขาความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานฯ ประกอบด้วย

  1. Control and assurance of the quality of the import/export of food} drugs, traditional medicines, cosmetics, dietary/health supplement and medical devices
  2. Promotion of information exchange on health product registration and regulations to facilitate the Import/export of food, drugs, traditional medicines, cosmetics, dietary/health supplements, medical devices and hazardous substances used in households and public health programs
  3. Promotion of information exchange on precursor of narcotics and Psychotropic Drugs
  4. Human Resource for health development and capacity building

รูปแบบของความร่วมมือประกอบด้วย
1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลและบุคลากร ตามกฎระเบียบและข้อกำหนดของประเทศ
2. การพัฒนาบุคลากร เช่น การอบรมระยะสั้นและระยะยาว และการศึกษาดูงาน
3. การทำงานวิจัยร่วมกันในขอบเขตที่สนใจ
4. ประเภทความร่วมอื่นๆ ที่สนใจร่วมกัน


ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ได้มีความร่วมมือกับกรมอาหารและยา (Food and Drug Department : FDD)  สปป.ลาว มาตั้งแต่ก่อนการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านสาธารณสุขระหว่างกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การประชุมทวิภาคีลาว-ไทยด้านความปลอดภัยอาหาร ครั้งที่ 1 
    เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  2. การประชุมทวิภาคีไทย-ลาวด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 2 
    เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศไทย ต่อมากระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559 ณ กรุงเทพมหานคร และได้จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมปี พ.ศ. 2559 - 2560 เพื่อดำเนินการตามความร่วมมือดังกล่าว
  3. การประชุมทวิภาคีลาว – ไทย ด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 3
    วันที่ 2-4 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม สำหรับปี พ.ศ. 2561-2563 พร้อมหารือการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการร่วมฯ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
  4. การประชุมทวิภาคีไทย-ลาวด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 4 
    วันที่ 10-12 ธันวาคมพ.ศ. 2562 ณ ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของทั้งสองประเทศ หารือรายละเอียดกิจกรรมความร่วมมือ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่ทั้งสองประเทศจะดำเนินการร่วมกันในปี พ.ศ. 2563-2565
  5. การประชุมทวิภาคีไทย-ลาวด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 5 
    วันที่ 28 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของทั้งสองประเทศ หารือรายละเอียดกิจกรรมความร่วมมือ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่ทั้งสองประเทศจะดำเนินการร่วมกันในปี พ.ศ. 2564-2566 เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีมาตรฐานในระดับสากล


กิจกรรมความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและกรมอาหารและยา (Food and Drug Department : FDD) สปป.ลาว
สามารถสรุปได้ ดังนี้                           

  1. ความร่วมมือด้านอาหาร
    อบรมการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดอบรมด้าน GMP อาหาร การแลกเปลี่ยนกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านอาหาร รวมถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยด้านความปลอดภัยอาหาร                                    
  2. ความร่วมมือด้านยา
    อบรมให้ผู้แทน อย. ลาว เรื่อง Training online for inspectors in PIC/S GMP
  3. ความร่วมมือด้านเครื่องมือแพทย์
    อบรม/ประชุมหารือด้านเครื่องมือแพทย์ร่วมกับผู้แทน อย. ลาวด้านกฎระเบียบและการกำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ (Thai-Lao Medical Device Law and Regulation Webinar) 
  4. ความร่วมมือด้านเครื่องสำอาง
    อบรมการกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางให้ผู้แทน อย. ลาว (Cosmetic Advertisement Control System) และ จัดการอบรมการเฝ้าระวังเครื่องสำอางหลังออกสู่ตลาดโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงให้ผู้แทน อย. ลาว (Post-marketing surveillance for high risk products)
  5. ความร่วมมือด่านอาหารและยา
    ประกอบด้วย แลกเปลี่ยนข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับด่านอาหารและยา และอบรมด้านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์นำเข้าของด่านอาหารและยา  
  6. ความร่วมมือด้านวัตถุเสพติด
    อบรม/ประชุมหารือด้านวัตถุเสพติดร่วมกับผู้แทน อย. ลาว (Exchange information on Narcotic, Psychotropic substances and Cannabis)   

ลำดับ

รายการเอกสาร

ไฟล์ดาวน์โหลด

1

บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข 

pdf x1.png