Thai - Lao (2016)
ความเป็นมา
กระทรวงสาธารณสุขไทยกับ สปป.ลาวได้มีความร่วมมือด้านสาธารณสุขมายาวนาน ตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกการหารือ (Minutes of Discussion) เมื่อปี 2538 ซึ่งมีการระบุความร่วมมือด้านสาธารณสุขในภาพรวมระหว่างกัน และดำเนินกิจกรรมร่วมกันมาอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นในปี 2559 ได้มีการจัดการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขไทย-ลาว (Thailand – Lao PDR Bilateral Ministerial Meeting on Health Cooperation) พร้อมทั้งมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING BETWEEN THE GOVERNMENT OF THE KINGDOM OF THAILAND AND THE GOVERNMENT OF THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC ON HEALTH COOPERATION) ในระหว่างการประชุมดังกล่าว รวมถึงจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันซึ่งมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานฯ
วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้าง อำนวยความสะดวก และส่งเสริมการให้และการประสานความร่วมมือด้านสาธารณสุขบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน บันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว จะเป็นกรอบสำหรับการดำเนินงานสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
สาขาความร่วมมือ
สาขาความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานฯ ประกอบด้วย
- Control and assurance of the quality of the import/export of food} drugs, traditional medicines, cosmetics, dietary/health supplement and medical devices
- Promotion of information exchange on health product registration and regulations to facilitate the Import/export of food, drugs, traditional medicines, cosmetics, dietary/health supplements, medical devices and hazardous substances used in households and public health programs
- Promotion of information exchange on precursor of narcotics and Psychotropic Drugs
- Human Resource for health development and capacity building
รูปแบบของความร่วมมือประกอบด้วย
1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลและบุคลากร ตามกฎระเบียบและข้อกำหนดของประเทศ
2. การพัฒนาบุคลากร เช่น การอบรมระยะสั้นและระยะยาว และการศึกษาดูงาน
3. การทำงานวิจัยร่วมกันในขอบเขตที่สนใจ
4. ประเภทความร่วมอื่นๆ ที่สนใจร่วมกัน
ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ได้มีความร่วมมือกับกรมอาหารและยา (Food and Drug Department : FDD) สปป.ลาว มาตั้งแต่ก่อนการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านสาธารณสุขระหว่างกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
- การประชุมทวิภาคีลาว-ไทยด้านความปลอดภัยอาหาร ครั้งที่ 1
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - การประชุมทวิภาคีไทย-ลาวด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 2
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศไทย ต่อมากระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559 ณ กรุงเทพมหานคร และได้จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมปี พ.ศ. 2559 - 2560 เพื่อดำเนินการตามความร่วมมือดังกล่าว - การประชุมทวิภาคีลาว – ไทย ด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 3
วันที่ 2-4 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม สำหรับปี พ.ศ. 2561-2563 พร้อมหารือการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการร่วมฯ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม - การประชุมทวิภาคีไทย-ลาวด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 4
วันที่ 10-12 ธันวาคมพ.ศ. 2562 ณ ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของทั้งสองประเทศ หารือรายละเอียดกิจกรรมความร่วมมือ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่ทั้งสองประเทศจะดำเนินการร่วมกันในปี พ.ศ. 2563-2565 - การประชุมทวิภาคีไทย-ลาวด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครั้งที่ 5
วันที่ 28 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของทั้งสองประเทศ หารือรายละเอียดกิจกรรมความร่วมมือ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่ทั้งสองประเทศจะดำเนินการร่วมกันในปี พ.ศ. 2564-2566 เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีมาตรฐานในระดับสากล
กิจกรรมความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและกรมอาหารและยา (Food and Drug Department : FDD) สปป.ลาว
สามารถสรุปได้ ดังนี้
- ความร่วมมือด้านอาหาร
อบรมการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดอบรมด้าน GMP อาหาร การแลกเปลี่ยนกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านอาหาร รวมถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยด้านความปลอดภัยอาหาร - ความร่วมมือด้านยา
อบรมให้ผู้แทน อย. ลาว เรื่อง Training online for inspectors in PIC/S GMP - ความร่วมมือด้านเครื่องมือแพทย์
อบรม/ประชุมหารือด้านเครื่องมือแพทย์ร่วมกับผู้แทน อย. ลาวด้านกฎระเบียบและการกำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ (Thai-Lao Medical Device Law and Regulation Webinar) - ความร่วมมือด้านเครื่องสำอาง
อบรมการกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางให้ผู้แทน อย. ลาว (Cosmetic Advertisement Control System) และ จัดการอบรมการเฝ้าระวังเครื่องสำอางหลังออกสู่ตลาดโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงให้ผู้แทน อย. ลาว (Post-marketing surveillance for high risk products) - ความร่วมมือด่านอาหารและยา
ประกอบด้วย แลกเปลี่ยนข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับด่านอาหารและยา และอบรมด้านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์นำเข้าของด่านอาหารและยา - ความร่วมมือด้านวัตถุเสพติด
อบรม/ประชุมหารือด้านวัตถุเสพติดร่วมกับผู้แทน อย. ลาว (Exchange information on Narcotic, Psychotropic substances and Cannabis)
ลำดับ | รายการเอกสาร | ไฟล์ดาวน์โหลด |
1 | บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข | |