Thai-Vietnam

Thai-Vietnam.jpg


ข้อมูลเบื้องต้น

ในการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ยกระดับการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมด้านการค้า ซึ่งเป็นการประชุมระดับอธิบดี เป็นการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า ในระดับรัฐมนตรี (Joint Trade Committee : JTC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามเป็นประธานร่วม โดยที่ผ่านมา ไทยและเวียดนามมีการประชุม JTC แล้ว 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ กรุงฮานอย ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ณ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ กรุงฮานอย และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565 ประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับประเทศเวียดนามได้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย - เวียดนามครั้งที่ 4 ขึ้น ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพมหานคร โดยมีรองนายรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (H.E. Mr. Nguyen Hong Dien) เป็นประธานร่วมการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทย และเวียดนาม ตลอดจนสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับประโยชน์ร่วมกันประกอบ

  1. ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าทวิภาคี โดยเฉพาะการตั้งเป้าหมายทางการค้าที่เห็นพ้องในการอำนวยความสะดวกระหว่างกันเพื่อให้การค้าบรรลุเป้าหมาย
  2. ความร่วมมือด้านการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ

      ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าวประเทศไทยได้เสนอประเด็นภายใต้ความร่วมมือทวิภาคีด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าเกี่ยวกับกฎระเบียบการขออนุญาตวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาของเวียดนาม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของประเทศไทย โดยประเทศไทยขอให้ประเทศเวียดนามยอมรับเอกสารหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ยาตามที่ได้ตกลงร่วมกันในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนโดยไม่มีข้อกำหนดเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปรับประสานกฎระเบียบ อำนวยความสะดวกทางการค้า และดำเนินการตามข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก

วัตถุประสงค์

1.ความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า

2.ความร่วมมือด้านการเกษตร

3.ความร่วมมือด้านมาตรการเยียวยาทางการค้า

4.ความร่วมมือดานการส่งเสริมการค้า

5.ความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงการขนส่ง

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ อย.

ประเด็นปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างไทยและเวียดนามที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

  1. การกำหนดรายละเอียดของหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ยา (Certificate of Pharmaceutical Products: CPP) ที่เกินกว่าที่เคยมีมีการตกลงกันในกรอบอาเซียน
  2. การกำหนดให้มี CPP จากกลุ่มประเทศที่มีการกำกับดูแลอย่างเข้มแข็ง (Stringent Regulatory Authority: SRA) อีกฉบับหนึ่ง อาทิ FDA จากสหรัฐฯ นอกเหนือจาก CPP จากประเทศผู้ส่งออก
  3. การกำหนดให้ CPP ต้องผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสาร (consular legalization) โดยกรมการกงสุล และ สอท.วน./ปทท. และองค์การยาของเวียดนาม (Drug Administration of Viet Nam: DAV) ต้องตรวจสอบการรับรองนิติกรณ์เอกสารกับ สอท. ณ กรุงฮานอย อีกครั้งหนึ่ง
  4. ฝ่ายไทยรับทราบถึงความพยายามของฝ่ายเวียดนามในการแก้ไขปัญหาโดยได้เวียนร่างกฎระเบียบฉบับใหม่จะนำมามใช้แทนกฎระเบียบ Circular 32 ให้ประเทศสมาชิก WTO พิจารณาให้ความเห็น อย่างไรก็ตามฝ่ายไทยมีข้อกังวลต่อรายละเอียดที่เวียดนามขอเพิ่มเติมในหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ยา (CPP) ภายใต้กฎระเบียบดังกล่าว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาไปยังเวียดนาม ในการนี้ ฝ่ายไทยยังขอให้ผ่านเวียดนามยอมรับหนังสือรับรอผลิตภัณฑ์ยาตามรูปแบบที่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันไว้แล้วซึ่งไม่ต้องระบุรายละเอียดที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดความสอดคล้องดันในอาเซียน ช่วยอำนยความสะดวกทางการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนและเป็นไปตามข้อกำหนดภายใต้ WTO