Thai - Myanmar (2013)


ความเป็นมา
กระทรวงสาธารณสุขไทย และกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือสาธารณสุขไทย-เมียนมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 ณ เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และได้มีการหารือแผนปฏิบัติการร่วมภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ค.ศ. 2013-2015 หรือ Joint Action Plan (2013-2015) under Memorandum of Understanding Cooperation between Ministry of Public Health of the Government of the Kingdom of Thailand and Ministry of Health of the Government of the Republic of the Union of Myanmar ทั้งนี้แผนปฏิบัติการร่วมฉบับแรก มีประเด็นความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎระเบียบ และการพัฒนาบุคลากรด้านยา อาหาร และเครื่องสำอาง


จากนั้นในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขไทย-เมียนมา ครั้งที่ 2 ในปี 2558 ได้มีการหารือแผนปฏิบัติการร่วม ปี ค.ศ. 2016 – 2018 ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอีกครั้ง โดยมีข้อสรุปความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานฯ ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านอาหารและยาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์


ในปี 2559 ได้มีการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือสาธารณสุขไทย-เมียนมา ครั้งที่ 3 เพื่อหารือความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ (Joint Action Plan) ปี ค.ศ. 2016 – 2018 และแผนการดำเนินงานที่จะเสนอต่อไปสำหรับปี ค.ศ. 2019 -2021

Thai-Myanmar_pic.jpg

เพื่อให้มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการร่วมอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการประสานงานกับ Department of Food and Drug Administration (DFDA), Ministry of Health and Sports สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อจัดการประชุมทวิภาคีไทย-เมียนมา ด้านความร่วมมืออาหารและยา ทั้งนี้จัดการประชุมไปทั้งหมด 3 ครั้ง สรุปดังนี้

  1. การประชุมทวิภาคีไทย-เมียนมาด้านความร่วมมืออาหารและ ครั้งที่ 1 (1st Myanmar – Thailand Bilateral Meeting on Food and Drug Cooperation) ในปี 2559 ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อหารือข้อเสนอรายละเอียดกิจกรรมความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากรและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านอาหารและยาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (Substandard Food and Drug) ด้านยาแผนโบราณ (Traditional Medicine) ด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (Medical and Cosmetic Products) และความร่วมมือของด่านอาหารและยาแล้ว (FDA Checkpoint) ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
  2. การประชุมทวิภาคีเมียนมา-ไทย ด้านความร่วมมืออาหารและยาครั้งที่ 2 (2nd Myanmar – Thailand Bilateral Food and Drug Cooperation)
    เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้ประสานงานกับ Department of Food and Drug Administration (DFDA), Ministry of Health and Sports สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อจัดการประชุมทวิภาคีเมียนมา-ไทย ด้านความร่วมมืออาหารและยาครั้งที่ 2 (2
    nd Myanmar – Thailand Bilateral Food and Drug Cooperation) ในเดือนมกราคม 2561 ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อหารือการดำเนินงานกิจกรรมตามแผนอย่างมีรูปธรรม รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านระบบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการหารือกิจกรรมสำหรับปี ค.ศ. 2018 – 2019 มุ่งเน้นการแลกเลี่ยนข้อมูลความปลอดภัยและกฎระเบียบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร


วัตถุประสงค์ของบันทึกความเข้าใจ
เพื่อดำเนินการตามกฎระเบียบ ข้อกำหนด และนโยบายของประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็ง อำนวยความสะดวก ส่งเสริม และพัฒนาความร่วมมือในด้านสาธารณสุขบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองประเทศร่วมกันสร้างกรอบการดำเนินงานร่วมกันและร่วมผลักดันการส่งเสริมความร่วมมือผ่านแผนปฏิบัติการฯ


ประเภทของความร่วมมือภายใต้ MOU
(1) แลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้กฎหมายและข้อบังคับภายในประเทศด้านความร่วมมือ
(2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านสุขภาพบุคลากร
(3) การวิจัยและการศึกษาร่วมกันในสาขาที่มีความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องนี้
(4) ความร่วมมือประเภทอื่น ๆ ที่อาจกำหนดร่วมกัน


ขอบเขตของความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจ
(1) การเฝ้าระวังโรค
(2) อาหารและยาที่ไม่ได้มาตรฐาน
(3) ยาแผนโบราณ
(4) ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเครื่องสำอาง
(5) โรคติดต่อและโรคติดต่ออุบัติใหม่โดยเฉพาะโรคติดต่อข้ามแดน
(6) การส่งเสริมสุขภาพ
(7) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติและผู้เดินทางข้ามแดน
(8) ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่อาจกำหนดร่วมกัน


ความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจ

แผนปฏิบัติการร่วมไทย-เมียนมาประกอบด้วยความร่วมมือ ดังนี้

  1. ความร่วมมือด้านอาหาร
    การอบรมวิทยากรผู้สอนงาน (Training of Trainer) ระบบการกำกับดูแลอาหาร โดยเน้นการเฝ้าระวังหลังออกสู่ตลาด และการจัดอบรมด้าน GMP สำหรับการผลิตอาหารที่มีความเสี่ยงสูง และปานกลาง โดยส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน GMP ของประเทศไทยเป็นวิทยากรให้การอบรม Food Inspector ณ ประเทศเมียนมา โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือองค์การอนามัยโลก และการแลกเปลี่ยนกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านอาหาร รวมถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยด้านความปลอดภัยอาหาร
  2. ความร่วมมือด้านยา
    การศึกษาดูงานด้านการตรวจประเมิน GMP ระบบ Computerized Information System ในงานกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด การศึกษาดูงานศูนย์ชีวสมมูล โดยเมียนมาจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การอนามัยโลก หรือองค์การระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัยของยา
  3. ความร่วมมือด้านเครื่องสำอาง
    การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาการจดแจ้งออนไลน์ การตรวจสอบ Product Information File (PIF) การเฝ้าระวังหลังออกสู่ตลาด การแลกเปลี่ยนกระบวนการจดแจ้ง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องสำอางและเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย
  4. คามร่วมมือด้านเครื่องมือแพทย์
    การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้านเครื่องมือแพทย์ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้เครื่องมือแพทย์
  5. ความร่วมมือด่านอาหารและยา
    ความร่วมมือเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพนะด่านชายแดนไทยเมียนมา โดยฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารความเสี่ยงและระบบการกำกับดูแลสินค้านำเข้าความเสี่ยงศึกษาดูงานกรณีศึกษาการกำกับดูแลความปลอดภัยของผลส้มสดหรือกรณีศึกษาอื่นๆตามสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ประชุมหารือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลกับระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าผลิตภันสุขภาพเพื่อจัดทำแนวทางการศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพของทั้งสองประเทศ
  6. ความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณ
    ฝึกอบรมบุคลากรด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาแผนโบราณและจีเอ็มพียาแผนโบราณความร่วมมือภายใต้กระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อย.

    ความร่วมมือภายใต้กระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อย.
    กระทรวงสาธารณสุขและกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีการจัดทำแผนงานเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านสาธารณสุข เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – เมียนมา สาขาสาธารณสุข ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ทั้งนี้ได้มีการหารือเพื่อการพัฒนาแผนดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แผนฉบับล่าสุด มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ อย.  ได้แก่
  7. 1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการศึกษาดูงาน
  8. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านระบบการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  9. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการตรวจประเมิน GMP ในผลิตภัณฑ์ที่เป็นเป้าหมาย
  10. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการตรวจประเมิน GMP ในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 เครื่องมือแพทย์ เจลล้างมือ และเจลแอลกอฮอล์
  11. การควบคุมคุณภาพ และวิธีการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 อาทิ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ชุด PPE และเจลแอลกอฮอล์
  12. 2) การพัฒนากระบวนการและรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย
  13. 3) พัฒนาระบบ Recognition and Reliance Model ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ลำดับ

ชื่อไฟล์

Download

1

บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา


pdf x1.png